วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560

สมาชิกการจัดการ 60 ห้องA

อาจารย์ธภัทร ชัยชูโชค อาจารย์ปาล์ม

001 นางสาวกรรภิรมณ์ ติระพัฒน์ เอิง
002 นายก้องเกียรติ ศิลป์ภูศักดิ์ อัด
003 นายเกียรติศักดิ์ ดำด้วง เอ็ม
004 นายจีรุตม์ ศรีราม บิ๊ก
005 นายชนัตถ์ จันทร์วงค์ นัท
006
007 นางสาวฐานิญา ช่วยบำรุง พะแพง
008
009
010 นายตะวัน แซ่ซำ ตะวัน
011 นายธนพงษ์ ไชยนุรักษ์ บูม
012 นายธวัช บัวแก่น บอล
013 นางสาวธิดารัตน์ เรืองเหมือน แพร
014
015 นายนันทวุฒิ ช่วยมณี บ่าว
016 นายนิติกรณ์ ยอดสุวรรณ์ น็อต
017
018 นายประพัฒน์พงษ์ ทองเอม นุ๊ก
019 นายปิยะวิทย์ สังข์เศรษฐ์ วิทย์
020
021 นาวสาวเพชรลดา เขียวสุวรรณ ฝน
022
023 นายภาคภูมิ ใจสมุทร ภูมิ
024 นายมูฮัยมีน ยะเลซู มีน
025 นายยูโซฟ ใบตาเย๊ะ กำนัน
026 นายรุซดีย์ ยะลิน ดี้
027 นางสาวลัดดาวรรณ แก้วเจริญ ปาล์ม
028 นายวรายุทธ ชูบุญลาภ แม็กซ์
029
030 นางสาววารีว่า บาราสัน วาวา
031 นางสาวศเร๊าะต้า หมัดบก ต้าร์
032 นายศัตยา แซ่เอี่ยม แดน
033
034 นายสถิตย์ พิชัยบัณฑิตย์ แสนดี
035
036 นายสิทธิพร บำเพิง บูม
037 นางสาวสุทธิณี บุญธรรม พิกุล
038 นางสาวสุธารส หมื่นชนม์ แบ็ม
039 นางสาวสุภาพร ทองแย้ม แก้ว
040 นายโสภร สุวรรณรัศมี ใหม่
042 นายอนุวัฒน์ ค้ำชู เอ็ม
043 นายอรรถชัย ชูสังข์  กอล์ฟ
044 นายอลังการ แท่งทอง จ๊ะจ้า
089

วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560

ระบบขนส่งวัสดุอัตโนมัติ


ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor)

ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor) คือ อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor) ที่ใช้สายพาน (Belt) เป็นตัวนำพาวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงทำหน้าที่เคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง  หลังจากวัสดุหรือชิ้นงานผ่านกระบวนการตามขั้นตอนมา เมื่อมาถึงการขนย้ายหรือลำเลียงก็จะใช้ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) ในการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือชิ้นงาน
ดังนั้นระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทที่ใช้ระบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต
ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) มี 4 ประเภท
1. ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)


ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุขึ้นในแนวลาดเอียง ในไลน์การผลิตที่มีการลำเลียงต่าง ระดับระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก สามารถลำเลียงผ่านน้ำหรือลำเลียงชิ้นงานที่เปียกได้ และยังไม่เป็นสนิท ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติกจะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งโดยการลำเลียงจะมีลักษณะแนวลาดเอียง ลำเลียงจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง องศาลาดเอียงของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะเริ่มตั้งแต่ 10องศา และไม่เกิน 45องศา เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร , บรรจุภัณฑ์หีบห่อ หรือ ลำเลียงสิ่งของที่ต้องผ่านเครื่อง X-Ray

2. ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ)


ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบ สามารถทนความร้อนได้และมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยเมื่อรับแรงดึงลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบจะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งโดยสามารถขยับตัวระบบลำเลียงให้ตรงกับไลน์การผลิตได้ เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร เป็นต้น

3. ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC)


ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC สามารถทนความร้อนได้และราคาถูก ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เหมาะสำหรับงานลำเลียงในอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าที่บรรจุหีบห่อที่มีน้ำหนักเบาและต้องการความสะอาด

4. ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System



ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System (เครื่องตรวจหาโลหะ) มีระบบสายพานลำเลียง 2 แบบ คือ 1.แบบพลาสติก 2. แบบ PVC สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุเข้าเครื่องตรวจหาโลหะ หลังจากชิ้นงานหรือวัสดุผ่านกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ มาแล้ว เมื่อมาถึงเครื่องตรวจหาโลหะ ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์หรือรูปแบบชิ้นงาน เช่น ซองพลาสติก กล่องกระดาษ ขวดแก้ว ยาง เครื่องตรวจหาโลหะใช้พลังงานแม่เหล็ก โดยทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก (Electro Magnetic Field) เมื่อมีโลหะ เช่น เหล็กปนอยู่ในแผ่นยาง เครื่องจะทำการแจ้งเตือนในรูปแบบต่างๆ เช่น ร้องเตือน ผลักออก หรือหยุดเครื่อง



ระบบ AGV

AGV (Automated Guided Vehicle) คือรถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติโดยใช้แถบแม่เหล็ก วิชั่น หรือเลเซอร์ เป็นตัวบอกทิศทางให้กับรถเวลาเคลื่อนที่ ส่วนมากใช้ในงานอุตสาหกรรม/โรงงาน/คลังสินค้า ไว้ลำเลียงสินค้า/ชิ้นงาน จากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง ปัจจุบัน AGV เป็นที่นิยมมากขึ้นเนื่องจาก AGV ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการ ทำงาน ลดข้อผิดพลาดหรือปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้แรงงานคน

1.แบบบรรทุก
สำหรับการขนย้ายสิ่งของโดยบรรทุกไว้บนตัวรถหรือสามารถนำไปใช้เป็นสถานีสำหรับประกอบงาน



ขนส่งวัตถุดิบ
ใช้แทนการขนส่งวัตถุดิบโดยใช้แรงงานคน หรือทดแทนการใช้สายพานลำเลียง

สถานีประกอบงานบนตัวรถ
การนำรถเอจีวีไปใช้เป็นสถานีประกอบงาน เป็นรูปแบบการนำไปใช้ที่มีประสิทธิภาพในสายงานการผลิต

ลำเลียงสินค้าสำเร็จรูป
ในกระบวนการส่งมอบสินค้าสำเร็จรูปย่อมต้องการ การขนส่งที่ปลอดภัยต่อสินค้าเพื่อป้องกันการเสียหาย เอจีวีเป็นคำตอบนึงที่มีศักยภาพครบทั้งเรื่องการควบคุมกระบวนการ และการส่งมอบที่ประหยัดเวลาสูงสุด

2. แบบลากจูง
สำหรับการนำรถเข็นมาต่อพ่วงเพื่อลากจูง













ขนส่งวัตถุดิบ
ใช้แทนการขนส่งวัตถุดิบโดยใช้แรงงานคน หรือทดแทนการใช้สายพานลำเลียง

สถานีประกอบงานบนตัวรถ
การนำรถเอจีวีไปใช้เป็นสถานีประกอบงาน เป็นรูปแบบการนำไปใช้ที่มีประสิทธิภาพในสายงานการผลิต

ลำเลียงสินค้าสำเร็จรูป
ในกระบวนการส่งมอบสินค้าสำเร็จรูปย่อมต้องการ การขนส่งที่ปลอดภัยต่อสินค้าเพื่อป้องกันการเสียหาย เอจีวีเป็นคำตอบนึงที่มีศักยภาพครบทั้งเรื่องการควบคุมกระบวนการ และการส่งมอบที่ประหยัดเวลาสูงสุด

3. แบบเกี่ยวลาก (ลอดใต้)
สำหรับการลอดใต้ไปเกี่ยวลากรถเข็นเพื่อไปส่งยังจุดต่างๆ




ขนส่งวัตถุดิบ
ใช้แทนการขนส่งวัตถุดิบโดยใช้แรงงานคน หรือทดแทนการใช้สายพานลำเลียง

สถานีประกอบงานบนตัวรถ
การนำรถเอจีวีไปใช้เป็นสถานีประกอบงาน เป็นรูปแบบการนำไปใช้ที่มีประสิทธิภาพในสายงานการผลิต

ลำเลียงสินค้าสำเร็จรูป
ในกระบวนการส่งมอบสินค้าสำเร็จรูปย่อมต้องการ การขนส่งที่ปลอดภัยต่อสินค้าเพื่อป้องกันการเสียหาย เอจีวีเป็นคำตอบนึงที่มีศักยภาพครบทั้งเรื่องการควบคุมกระบวนการ และการส่งมอบที่ประหยัดเวลาสูงสุด








วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด
หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดเวอร์ชั่นล่าสุด มีจุดเด่นอยู่ที่การทำงาน โดยระบบ Interface System ขนาดกว้าง 548 มิลลิเมตร ยาว 740 มิลลิเมตร สูง 190 มิลลิเมตร ความยาวแขนปีนป่าย 350 มิลลิเมตร น้ำหนักเฉพาะตัวฐานหุ่นยนต์ ไม่รวมแขนกล 25-30 กิโลกรัม ตัวหุ่นยนต์สามารถรับน้ำหนักแนวดิ่งได้ ณ จุดศูนย์กลางน้ำหนัก 20 กิโลกรัม ขับเคลื่อนด้วยล้อสายพาน มีระบบป้องกันการลื่นไหลขณะปีนป่ายความชันไม่เกิน 60 องศา ติดตั้งกล้องความละเอียดสูง 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ควบคุมตัวหุ่นยนต์ด้วยระบบไร้สาย ใช้งานได้ 1.30–2 ชั่วโมง สามารถติดตั้งแขนกลได้หลายรูปแบบ สามารถเปลี่ยนแขนกลได้ทันที และปรับเปลี่ยนเป็นหุ่นยนต์สำรวจได้ และปัจจุบันที่ศูนย์แห่งนี้ได้พัฒนาไปถึงขีดขั้น Inhouse Production คือ สามารถผลิตอะไหล่ทุกชิ้นเองได้




หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม
ตัวหุ่นยนต์ (Robot Body / Manipulator) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะเวลาที่เราจะพิจารณาเลือกใช้หุ่นยนต์สักตัวเพื่อทำมาใช้ช่วยในกระบวนการผลิตจะต้องคำนึงถึงลักษณะของงาน พื้นที่ สิ่งแวดล้อม เนื่องจากตัวหุ่นยนต์นั้นเป็นส่วนที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการทำงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งลักษณะงานที่แตกต่างกันก็จะเป็นตัวบ่งบอกในเรื่องของขนาดโครงสร้างของตัวหุ่นยนต์ด้วย ซึ่งตรงนี้หลายๆ ท่านอาจนึกภาพออก ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับคน หากคนที่ตัวเล็กอาจยกของได้น้อยกว่าคนตัวใหญ่นั่นเอง ดังนั้น เราจึงต้องมาศึกษาให้เข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวหุ่นยนต์ก่อนว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เพราะหากเราไม่ทราบเราก็จะไม่สามารถโปรแกรมหุ่นยนต์ให้ทำงานได้ ที่สำคัญ คือ เราจะคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่องอีกด้วย




หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์
อาซิโม (Ashimo) คือหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยนด์ (Humanoid) หรือหุ่นยนต์ที่เลียนแบบท่าทางต่าง ๆ ของมนุษย์ พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทฮอนด้า ประเทศญี่ปุ่น โดยฮอนด้า (Honda) ได้มีโครงการวิจัยศึกษาและพัฒนาหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ (Humanoid) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) โดยเริ่มจากหุ่นยนต์ต้นแบบ E0-E6 ในปี ค.ศ.1986-1993 (พ.ศ.2529-2336) และ P1-P3 ในปี ค.ศ.1993-1997 (พ.ศ.2536-2540) จนกระทั่งสร้างหุ่นยนต์อาซิโม (Ashimo) สำเร็จขึ้นในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ.2000 (พ.ศ.2543) และมีอาซิโมเวอร์ชันใหม่ในปี ค.ศ.2011 (พ.ศ.2554) ซึ่งมีความสามารถเพิ่มขึ้นจากรุ่นก่อนหน้า รวมไปถึงความสามารถในการวิ่งของ อาซิโมรุ่นใหม่นี้สามารถวิ่งด้วยความเร็วมากถึง 9 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นหุ่นยนต์ที่เลียนแบบมนุษย์ที่วิ่งได้เร็วที่สุดในโลกในปัจจุบัน ต่างจากรุ่นก่อนหน้าที่สามารถวิ่งได้เพียง 6 กิโลเมตร/ชั่วโมงเท่านั้น และยังมีน้ำหนักน้อยลงเหลือ 48 กิโลกรัมเท่านั้น (รุ่นก่อนหน้าหนัก 54 กิโลกรัมต่างกันถึง 6 กิโลกรัม) มีความสูง 130 เซนติเมตร ซึ่งเป็นความสูงที่พอเหมาะพอดีกับการทำงานในบ้านและในออฟฟิศเป็นอย่างมาก





เครื่องจักรกลNC,CNC,DNC

ความหมายของเครื่องจักรNC
N ย่อมาจาก Numerical หมายถึง รหัสตัวเลข เช่น 0 , 1 , 2 , 3 , 4 ถึง 9 , รหัสตัวอักษร  เช่น A , B, C ถึง Z และรหัสสัญลักษณ์อื่นๆ เช่น เครื่องหมาย + , - , # , ; และ %

         C  ย่อมาจาก Control หมายถึงการควบคุมโดยการกำหนดค่าของรหัสตัวเลขตัวอักษรสัญลักษณ์เพื่อต้องการให้เครื่องจักรทำงานตามค่าที่กำหนด
ดังนั้น  NC หมายถึง การควบคุมการเคลื่อนที่และการทำงานของเครื่องจักรกลด้วยรหัสคำสั่ง ที่ประกอบไปด้วยรหัสตัวเลข,รหัสตัวอักษรและรหัสสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อนำไปควบคุมเครื่องจักรให้เกิดการเคลื่อนที่ตามทิศทางที่กำหนดโดยที่รหัสดังกล่าวจะถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า(Pulse)และส่งไปยังมอเตอร์เพื่อกระตุ้นหรือควบคุมมอเตอร์ให้เกิดการขับเคลื่นอนขอเครื่องจักรต่อไป






ความหมายของเครื่องจักรCNC
CNC เป็นคำย่อมาจากคำว่า Computer Numerical Control หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยควบคุมการทำงานเครื่องจักรกลอัตโนมัติต่างๆ เช่น เครื่องกัด เครื่องกลึง เครื่องเจาะ เครื่องเจียระไน ฯลฯ โดยการสร้างรหัส ตัวเลข สัญลักษณ์ หรือเรียกว่าโปรแกรม NC ขึ้นมาควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกล   ซึ่งสามารถทำให้ผลิตชิ้นงานได้รวดเร็วถูกต้อง และเที่ยงตรง นับตั้งแต่ปีค.ศ. 1960 เป็นต้นมา เทคโนโลยีทางด้านไมโครโปรเซสเซอร์เข้ามามีบทบาทแทนที่หลอดสุญญากาศ และทรานซิสเตอร์ก็มีการพัฒนาจากเครื่องจักร NC มาเป็นเครื่องจักร CNC (Computer Numerically Controlled) และเครื่องจักร CNC ก็กลายเป็นพระเอกที่โดดเด่นเรื่อยมา เนื่องจากมีหน่วยความจำขนาดใหญ่สามารถบรรจุโปรแกรมการทำงานต่างๆ ได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีจอภาพแสดงผลแบบกราฟิกแสดงผลหรือจำลองการทำงานได้อีกด้วย ในการโปรแกรมข้อมูลเข้าไปยังตัวควบคุมเครื่องจักร (Machine Control) ซึ่งเรียกการควบคุมแบบนี้ว่าระบบ softwired โดยมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ แบบเก่าเป็นอุปกรณ์ที่สามารถจัดเก็บโปรแกรมได้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็เป็นยุคต้นของเครื่องจักรกล CNC เครื่อง CNC จะใช้เทปแม่เหล็ก, แผ่นดิสก์ หรือ ดรัม (Drum) ในการเก็บข้อมูลที่โปรแกรมเอาไว้การโปรแกรมสามารถทำได้ที่สถานีควบคุมไปยังกลุ่มเครื่องจักรกล NC แต่ถ้าเป็นกลุ่มหรือเครื่องจักรกล CNC การโปรแกรมหรือรับสัญญาณมักจะรับจาก เครื่องจักรเองโดยตรงหรือเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ประจำเครื่อง DNC เป็นแนวความคิดใหม่ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์หนึ่งตัว (Main Computer or Host) เป็นศูนย์กลางในการควบคุม และบริหารเครื่องจักรกล NC และ CNC หลายๆ เครื่องCNC จะใช้เทปแม่เหล็ก, แผ่นดิสก์ หรือ ดรัม (Drum) ในการเก็บข้อมูลที่โปรแกรมเอาไว้การโปรแกรมสามารถทำได้ที่ สถานีควบคุมไปยังกลุ่มเครื่องจักรกล NC แต่ถ้าเป็นกลุ่มหรือเครื่องจักรกล CNC การโปรแกรมหรือรับสัญญาณมักจะรับจาก เครื่องจักรเองโดยตรงหรือเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ประจำเครื่อง ในการควบคุมเครื่องจักรกลซีเอ็นซี จะใช้โปรแกรมรหัสจีเป็นชุดคำสั่ง เพื่อควบคุมขับเครื่องมือตัดเฉือน (Tool) จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง    หรือเปิด-ปิดสารหล่อเย็นหรือเปลี่ยนเครื่องมือตัดเฉือน โดยเครื่องจักรกลจะทำงานโดยอัตโนมัติตามที่ได้โปรแกรมไว้ตามชุดคำสั่ง เราไม่สามารถแยกเครื่องจักรซีเอ็นซีและรหัสจีออกจากกันได้  ถ้าเราต้องการให้เครื่องจักรซีเอ็นซีทำงานเราต้องเรียนรู้รหัสจีเพื่อที่เราจะได้พูดภาษาเดียวกับตัวควบคุมซีเอ็นซีได้ ภายหลังจึงได้มีการพัฒนาโปรแกรม CAD/CAM ขึ้นมาใช้งานร่วมกับเครื่องจักรกล CNC ช่วยให้เข้าใจถึงวิธีการโปรแกรมรหัสจี เพื่อให้เครื่องจักรซีเอ็นซีทำงานตามที่ผู้ใช้งานต้องการได้สะดวกรวดเร็วขึ้น





ความหมายของเครื่องจักรDNC
 Distribution Numerical Control: DNC คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน




วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เทคโนโลยีการสื่อสาร


เทคโนโลยี Wi-Fi

ในปี 2003 เป็นต้นไปเทคโนโลยีที่คาดว่าจะมาแรงแบบสุดๆตอย่างหนึ่งก็คือ WiFi ซึ่งคำถามแรกของผู้ที่ได้ยินคำนี้ก็ต้องถามเป็นเสียงเดียวกันว่าแล้ว WiFi มันคืออะไรกันนะ? รู้จักแต่คำว่าไวไฟ ที่เขียนท้ายรถบรรทุกน้ำมัน


จากอดีต
ก่อนที่เราจะมาพูดถึงว่า Wi-Fi มันคืออะไรนั้น เราลองมาทำความเข้าใจกันเล็กๆน้อยเกี่ยวกับเรื่องระบบ Network สักนิดนะครับ การที่ คอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องจะมาเชื่อมต่อกัน เพื่อประโยชน์ในการแชร์ ข้อมูลซึ่งกันและกันหรือเอามาแชร์ Internet เพื่อใช้งาน แบบประมาณว่า ต่อ Internet เพียงแค่เครื่องเดียว เครื่องอื่นๆที่อยู่ในเครือข่ายก็สามารถใช้งาน Internet ได้ด้วย ซึ่งการต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องเข้าด้วยกันนี้ แต่เดิมนั้นเราจะใช้สาย Lan ต่อเข้ากับ Lan card ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเพื่อจะเชื่อมเข้าหา ซึ่งการต่อแบบใช้สายนี้มันมีค่าใช้จ่ายไม่แพงมาก แต่จะยุ่งยากหน่อยก็ตรงที่ในบ้านเรา หรือใน office ที่เราจะเชื่อมต่อนั้น จะต้องเรียกช่างมาเดินสาย Lan เหมือนกับเดินสายไฟภายในบ้าน  ซึ่งมันก็วุ่นมากทีเดียวหากเป็นบ้านที่มีคนอยู่แล้ว ต้องมานั่งรื้อข้าวของให้วุ่นวายกันไปหมด

ถึงปัจจุบัน
เหมือนกับว่าพระเจ้าเห็นใจผู้รักเทคโนโลยี จึงทำให้มีผู้คิดค้นวิธีเชื่อมต่อ Lan แบบใหม่ขึ้นมาโดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงสายให้มันวุ่นวาย แต่คราวนี้เราจะใช้คลื่นเชื่อมแทนครับ ฟังแค่นี้ก็ดูน่าสนใจขึ้นมาแล้วใช่ไหมครับ
ด้วยระบบเทคโนโลยี Lan ไร้สาย 802.11 จึงเกิดขึ้นมาบนโลกเบี๊ยวๆใบนี้ โดยการพัฒนาจากสถาบันวิศวกรไฟฟ้า และ อิเลคโทรนิค หรือ Institute of Electrical and Electronics Engineering (IEEE) นั่นเอง เลยทำให้กลายเป็นศัพท์ใหม่ที่เห็นกันบ่อยๆว่า  IEEE 802.11 ซึ่งก็ได้มีการพัฒนากันมาเรื่อยจาก 802.11 ธรรมดามาเป็น  802.11b  802.11a  802.11g ซึ่งมันจะต่างกันเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลเป็นหลัก ( เดี๋ยวเราค่อยมาเล่าต่ออีกทีว่ามันต่างกันอย่างไร )

Wi-Fi คืออะไร
Wi-Fi ก็คือองค์กรหนึ่ง ที่ทดสอบผลิตภัณฑ์ Wireless Lan หรือระบบ Network แบบไร้สาย ภายใต้เทคโนโลยีการสื่อสาร ภายใต้มาตราฐาน IEEE 802.11 ว่าอุปกรณ์ทุกตัวซึ่งต่างยี่ห้อกันนั้นมันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่มีปัญหา หากว่าอุปกรณ์ตัวนั้นมันผ่านตามมาตราฐานเขาก็จะปั๊ม ตรา WIFI certified ซึ่งเป็นอันรู้กันว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่มีตรา WIFI certified นี้ได้เช่นกัน แต่ทำไปทำมามันกลายเป็นคำศัพท์สำหรับ อุปกรณ์ Lan ไร้สาย ไปโดยปริยาย จนบางคนก็เรียกกันติดปาก เช่น Notebook ตัวนี้ หรือ PDA ตัวนี้มันมี WiFi ด้วยหละ! นั่นก็หมายความว่า อุปกรณ์ชิ้นนั้นมันสามารถติดต่อสื่อสารกับเครื่องตัวอื่นในระบบ Network แบบไร้สายได้ โดยอยู่ภายใต้มาตราฐานเทคโนโลยี 802.11แล้วเลข 802.11 มันคืออะไร ซึ่งผมเชื่อว่ามันต้องเป็นคำถามต่อมาอย่างแน่นอน สำหรับเลข 802.11 นั้นก็เป็น เทคโนโลยีมาตราฐานแบบเปิดซึ่งกำหนดโดย Institute of Electrical and Electronics Engineering (IEEE) โดยเลขหลักตัวหน้ามันจะเหมือนๆกัน แต่ความแตกต่างของเทคโนโลยีจะกำหนด


ประโยชน์เครือข่ายไร้สาย
การเจริญเติบโตของเครือข่ายไร้สายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนับ ตั้งแต่มีมาตราฐาน 802.11 เกิดขึ้น ระบบเครือข่ายไร้สายได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันนี้เครือข่ายไร้สายสามารถใช้งานได้สะดวก และมีความปลอดภัยมากขึ้น และที่สำคัญความเร็วในการสื่อสารสูงถึง 54 Mbps

ประโยชน์เครือข่ายไร้สาย
มหาวิทยาลัยสามารถใช้เครือข่ายไร้สายโดยนักศึกษาสามารถเข้าถึงบทเรียน Online ต่างๆ ได้ สามารถสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจากจุดใดจุดหนึ่งของสถาบันได้ และนักศึกษาไม่จำเป็นต้องรอเข้าใช้ห้องบริการคอมพิวเตอร์ของสถาบัน สามารถใช้จากจุดใดก็ได้ที่สัญญาณเครือข่ายไร้สายไปถึง ช่วยให้นักศึกษาสามารถใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
ผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายลดค่าใช้จ่ายในการเดินสายสัญญาณให้เข้าถึงจุด บริการต่างๆ มากขึ้น และสามารถให้บริการในจุดบริการที่สายสัญญาณไม่สามารถเข้าถึงได้เช่นกัน
ผู้บริหารจัดการระบบเครือข่าย สามารถเผ้าตรวจสอบระบบ และปรับเปลี่ยนแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับระบบเครือข่ายจากจุดก็ได้ ทำให้สะดวกและรวดเร็วต่อการจัดการมากขึ้น
ด้านธุรกิจผู้ดูแลสต๊อกสินค้า สามารถตรวจสอบข้อมูลสินค้าต่างๆ ในสต๊อกกับฐานข้อมูลกลางจากที่ใดในโกดังได้ทุกที่ตลอดเวลา
ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้ทุกสถานที่ตามที่ต้องการ ทำให้ผลิดผลของงานเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ปัจจุบันความนิยมใช้งานเครือข่ายไร้สายเพิ่มขึ้น เกิดจากการรองรับของอุปกรณ์ WLAN เพิ่มจำนวนขึ้น เช่น โน้ตบุ๊ค (Notebook) และพีดีเอ (PDA) อย่างเช่นโน้ตบุ๊ครุ่มใหม่ที่ผลิดขึ้นจะสามารถใช้งานเครือข่ายไร้สายได้โดย ไม่ต้องมีการ์แลนไร้สายช่วยแต่อย่างใด ที่รู้จักในชื่อ centrino ขณะที่พีดีเอต้องมีอุปกรณ์เสริมจึงจะสามารถใช้งานเครือข่ายไร้สายได้ และสามารถสังเกตุได้จากห้างสรรพสินค้า ร้านกาแฟ โรงแรม สนามบิน ที่ให้บริการ WLAN เพิ่มขึ้นในหลายๆ ที่ แสดงให้เห็นถึงต้องการใช้เครือข่ายไร้สายเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน (สามารถตรวจสอบจุดบริการ Wireless ได้จาก จุดบริการ Wireless ในกรุงเทพฯ และจุดบริการ Wireless ในต่างจังหวัด)

มาตราฐาน IEEE802.11
Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE) เป็นสถาบันที่กำนหดมาตราฐานการทำงานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้กำหนดมาตราฐานสำหรับเครือข่ายไร้สายขึ้น คือมาตราฐาน IEEE802.11a, b, และ g ตามลำดับขึ้น ซึ่งแต่ละมาตราฐานมีความเร็วและคลื่นความถี่สัญญาณที่แตกต่างกันในการสื่อ สารข้อมูล มีรายละเอียดดังนี้

มาตราฐาน IEEE802.11a
เป็นมาตราฐานระบบเครือข่ายไร้สายที่มีประสิทธิภาพสูง ทำงานที่ย่านความถี่ 5 GHz มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 54 Mbps ที่ความเร็วนี้สามารถทำการแพร่ภาพและข่าวสารที่ต้องการความละเอียดสูงได้ อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสามารถปรับระดับให้ช้าลงได้ เพื่อเพิ่มระยะทางการเชื่อมต่อให้มากขึ้น เช่น 54, 48, 36, 24 และ 11 เมกกะบิตเป็นต้น ในขณะที่คลื่นความถี่ 5 GHz นี้ยังไม่ได้ใช้งานอย่างแพร่หลาย ดังนั้นปัญหาการรบกวนคลื่นความถี่จึงมีน้อย ต่างจากคลื่นความถี่ 2.4 GHz ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายทำให้สัญญาณของคลื่นความถี่ 2.4 GHz ถูกรบกวนจากอุปกรณ์ประเภทอื่นที่ใช้คลื่นความถี่เดียวกันได้ ระยะทางการเชื่อมต่อประมาณ 300 ฟิตจากจุดกระจายสัญญาณ Access Point หากเทียบกับมาตราฐาน 802.11b แล้ว ระยะทางจะได้น้อยกว่า 802.11b ที่คลื่นความถี่ต่ำกว่า และทั้ง 2 มาตราฐานนี้ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ ขณะที่ประเทศไทยไม่อนุญาติให้ใช้คลื่นความถี่ 5 GHz จึงไม่เห็นอุปกรณ์ WLAN มาตราฐาน 802.11a จำหน่ายในประเทศไทย แต่ความเร็ว 54 Mbps สามารถใช้งานได้ที่มาตราฐาน 802.11b ที่จะกล่าวถึงต่อไป

มาตราฐาน IEEE802.11b
802.11b เป็นมาตราฐานที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งต่างประเทศและในประเทศไทย เป็นมาตราฐาน WLAN ที่ทำงานที่คลื่นความถี่ 2.4 GHz (คลื่นความถี่นี้สามารถใช้งานในประเทศไทยได้) มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 11 Mbps ปัจจุบันผลิตภัณฑ์อุปกรณ์เครือข่ายไร้สายภายใต้มาตราฐานนี้ถูกผลิตออกมาเป็น จำนวนมาก และที่สำคัญแต่ละผลิดภัณฑ์มีความสามารถทำงานร่วมกันได้ อุปกรณ์ของผู้ผลิตทุกยี่ห้อต้องผ่านการตรวจสอบจากสถาบัน Wi-Fi Alliance เพื่อตรวจสอบมาตราฐานของอุปกรณ์และความเข้ากันได้ของแต่ละผู้ผลิต ปัจจุบันนี้นิยมนำอุปกรณ์ WLAN ที่มาตราฐาน 802.11b ไปใช้ในองค์กรธุรกิจ สถาบันการศึกษา สถานที่สาธารณะ และกำลังแพร่เข้าสู่สถานที่พักอาศัยมากขึ้น มาตราฐานนี้มีระบบเข้ารหัสข้อมูลแบบ WEP ที่ 128 บิต

มาตราฐาน IEEE802.11g
มาตราฐานนี้เป็นมาตราฐานใหม่ที่ความถี่ 2.4 GHz โดยสามารถรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 36 – 54 Mbps ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงกว่ามาตราฐาน 802.11b ซึ่ง 802.11g สามารถปรับระดับความเร็วในการสื่อสารลงเหลือ 2 Mbps ได้ (ตามสภาพแวดล้อมของเครือข่ายที่ใช้งาน) มาตราฐานนี้เป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้เป็นจำนวนมากและกำลังจะเข้ามาแทนที่ 802.11b ในอนาคตอันใกล้ นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นนี้มีบางผลิตภัณฑ์ใช้เทคโนโลยีเฉพาะตัวเข้ามาเสริม ทำให้ความเร็วเพิ่มขึ้นจาก 54 Mbps เป็น 108 Mbps แต่ต้องทำงานร่วมกันเฉพาะอุปกรณ์ที่ผลิตจากบริษัทเดียวกันเท่านั้น ซึ่งความสามารถนี้เกิดจากชิป (Chip) กระจายสัญญาณของตัวอุปกรณ์ที่ผู้ผลิตบางรายสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่ง สัญญาณเป็น 2 เท่าของการรับส่งสัญญาณได้ แต่ปัญหาของการกระจายสัญญาณนี้จะมีผลทำให้อุปกรณ์ไร้สายในมาตราฐาน 802.11b มีประสิทธิภาพลดลงด้วยเช่นกัน ด้านล่างเป็นตารางมาตราฐาน IEEE802.11 ของเครือข่ายไร้สาย

ตารางมาตราฐาน 802.11

มาตรฐาน
คลื่นความถี่
อัตราความเร็วของข้อมูล
802.11a
5.1 – 5.2 GHz
54 Mbps
802.11b
2.4 – 2.8 GHz
11 Mbps
802.11g
2.4 – 2.8 GHz
36 – 54 Mbps


รูปแบบเครือข่ายไร้สาย
การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายมี 2 รูปแบบ คือแบบ Ad-Hoc และ Infrastructure ทั้งสองรูปแบบมีการทำงานดังต่อไปนี้
1. การเชื่อมต่อแบบกลุ่มส่วนตัว(Ad-Hoc)
การเชื่อมต่อแบบ Ad-Hoc เป็นการเชื่อมต่อที่ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปที่ติดตั้งการ์ดแลนไร้สาย (หรือ Centrino Notebook) ทำการเชื่อมต่อสื่อสารกันโดยตรงไม่ต้องผ่านอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point) โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อแบบนี้สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ เช่น แชร์ไฟล์ เครื่องพิมพ์หรืออุปกรณ์ต่างๆ การสนทนาแบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และเล่นเกมส์แบบวงแลนได้ ซึ่งช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยไม่ต้องมีสายสัญญาณ แต่การเชื่อมต่อแบบ Ad-Hoc จะไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับเครือข่ายมีสายสัญญาณได้ นอกจากจะทำการติดตั้งอุปกรณ์ Acces Point เพื่อให้ Access Point ทำการเชื่อมต่อและส่งข้อมูลไปเครือข่ายมีสายแทน
2. การเชื่อต่อแบบกลุ่มโครงสร้าง (Infrastructure)
การเชื่อมต่อแบบ Infrastructure เป็นการเชื่อมต่อที่มีอุปกรณ์กระจายสัญญาญ (Access Point) เป็นตัวกลาง (ดังภาพด้านประกอบ) ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณและข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายของเครือข่ายไร้ สายไปสู่เครือข่ายมีสาย หากสังเกตุจะพบว่า Access Point มีการทำงานเหมือนอุปกรณ์ฮับ (HUB) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบมีสาย และที่สำคัญหากมีการเข้าใช้งานเครือข่ายไร้สายของเครื่องลูกข่ายในจำนวนมาก ต่อหนึ่ง Access Point จะมีผลทำให้ความเร็วของการสื่อสารเครือข่ายไร้สายช้าลงด้วยเช่นกัน
ปัจจุบันเครือข่ายไร้สายแบบ Infrastructure ได้รับความนิยมสูง และเป็นเครือข่ายที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งทางด้านความเร็วในการสื่อ สารและความปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เครือข่ายไร้สายช่วยให้เกิดความสะดวกมากขึ้นเพราะไม่ต้องเดินสายสัญญาณ สำหรับเครื่องลูกข่าย สามารถปรับเปลี่ยน เคลื่อนย้าย ขยายขนาดของเครือข่ายไร้สายได้ตลอดเวลา ด้วยความสะดวกสบายของเครือข่ายไร้สายทำให้เครือข่ายไร้สายได้รับการยอมรับ จากผู้ใช้มากขึ้นและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน


ประโยชน์ของเทคโนโลยี Wi-Fi
1. ลดค่าใช้จ่ายในการวางระบบเครือข่าย  ไม่ต้องมีการวางระบบเครือข่ายให้ยุ่งยาก  ไม่ต้องเดินสาย LAN  ให้เกะกะ ไม่สวยงาม   เพียงแค่หาจุดในการวางอุปกรณ์ Access Point ที่กระจายสัญญาณได้ชัดเจนก็พอ  ขยายระบบได้ง่ายและทำให้ปรับองค์กรได้อย่างเหมาะสม ตรงกับความต้องการ
2. Wi-Fi  ทำให้การสื่อสารง่ายดาย  สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายและเปลี่ยนแปลง  ไม่ต้องมีการเดินสาย และสามารถโยกย้ายไปยังที่ต่างๆได้โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายอุปกรณ์  เพียงแต่อยู่ในบริเวณที่ได้รับสัญญาณ Wi-Fi     ทำให้เกิดการทำงานที่สะดวกมากยิ่งขึ้น   และในปัจจุบันอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้มีขนาดเล็ก ประสิทธิภาพสูง สามารถพกติดตัวได้สะดวก พร้อมทั้งการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด ผู้ใช้ไม่จำเป็นที่จะต้องนั่งใช้งานอยู่กับที่ทำงาน
3. ใช้มาตรฐาน IEEE 802  ทำให้เป็นที่ยอมรับทั่วไป   และอุปกรณ์ต่างๆ ราคาถูก  หาซื่อได้ง่าย
4. ช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อทางธุรกิจ  การซื้อขายของออนไลน์ และการทำธุรกรรมทางธนาคาร
5. ช่วยเสริมสร้างรายได้  เป็นแรงจูงใจ  ดึงดูดลูกค้า และตอบสนองความต้องการของลูกค้า เช่น การให้บริการ Wi-Fi  ตามร้านอาหาร  ร้านกาแฟ  โรงแรม  ซึ่งจะทำให้ลูกค้าอยากเข้ามาใช้บริการมากขึ้น

วิธีการรักษาความปลอดภัยในการใช้ Wi-Fi
1. การปกปิดและกำหนดรหัสเฉพาะเพื่อใช้เรียกชื่อเครือข่าย
2. เปลี่ยน Login ID และรหัสผ่านของอุปกรณ์และหลีกเลี่ยงการใช้ SNMP
3. การควบคุม MAC Address ของผู้ใช้
4.  ควบคุมการแพร่กระจายของสัญญาณ
5. ปิดการเชื่อมต่อกับเครือข่าย WLAN แบบอัตโนมัติ
         
ข้อดีและข้อเสียของระบบเครือข่ายไร้สาย

ข้อดี
1. ช่วยลดปัญหาในการติดตั้งระบบเครือข่าย
2. ช่วยลดปัญหาในการวางสายระบบเครือข่าย
3. ไม่ต้องใช้สาย cable
4. ช่วยให้เกิดความเป็นระเบียบ เรียบร้อย

ข้อเสีย
1. มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง นั่นหมายความว่า ส่งสัญญาณได้ระยะสั้น
2. มีสัญญาณรบกวนสูง
3. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
4. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้ มีปัญหา ในการ ใช้งาน ร่วมกัน
5. ราคาแพงกว่าระบบเครือข่ายแบบมีสาย
6. มีความเร็วไม่สูงมากนัก



สมาชิกการจัดการ 60 ห้องA

อาจารย์ธภัทร ชัยชูโชค อาจารย์ปาล์ม 001 นางสาวกรรภิรมณ์ ติระพัฒน์ เอิง 002 นายก้องเกียรติ ศิลป์ภูศักดิ์ อัด 003 นายเกียรติศักดิ์ ดำด้วง...