ในปี 2003
เป็นต้นไปเทคโนโลยีที่คาดว่าจะมาแรงแบบสุดๆตอย่างหนึ่งก็คือ WiFi
ซึ่งคำถามแรกของผู้ที่ได้ยินคำนี้ก็ต้องถามเป็นเสียงเดียวกันว่าแล้ว
WiFi มันคืออะไรกันนะ? รู้จักแต่คำว่าไวไฟ
ที่เขียนท้ายรถบรรทุกน้ำมัน
จากอดีต
ก่อนที่เราจะมาพูดถึงว่า Wi-Fi
มันคืออะไรนั้น
เราลองมาทำความเข้าใจกันเล็กๆน้อยเกี่ยวกับเรื่องระบบ Network สักนิดนะครับ การที่ คอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องจะมาเชื่อมต่อกัน
เพื่อประโยชน์ในการแชร์ ข้อมูลซึ่งกันและกันหรือเอามาแชร์ Internet เพื่อใช้งาน แบบประมาณว่า ต่อ Internet เพียงแค่เครื่องเดียว
เครื่องอื่นๆที่อยู่ในเครือข่ายก็สามารถใช้งาน Internet ได้ด้วย
ซึ่งการต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องเข้าด้วยกันนี้ แต่เดิมนั้นเราจะใช้สาย Lan
ต่อเข้ากับ Lan card ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเพื่อจะเชื่อมเข้าหา
ซึ่งการต่อแบบใช้สายนี้มันมีค่าใช้จ่ายไม่แพงมาก
แต่จะยุ่งยากหน่อยก็ตรงที่ในบ้านเรา หรือใน office ที่เราจะเชื่อมต่อนั้น
จะต้องเรียกช่างมาเดินสาย Lan เหมือนกับเดินสายไฟภายในบ้าน
ซึ่งมันก็วุ่นมากทีเดียวหากเป็นบ้านที่มีคนอยู่แล้ว
ต้องมานั่งรื้อข้าวของให้วุ่นวายกันไปหมด
ถึงปัจจุบัน
เหมือนกับว่าพระเจ้าเห็นใจผู้รักเทคโนโลยี
จึงทำให้มีผู้คิดค้นวิธีเชื่อมต่อ Lan แบบใหม่ขึ้นมาโดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงสายให้มันวุ่นวาย
แต่คราวนี้เราจะใช้คลื่นเชื่อมแทนครับ ฟังแค่นี้ก็ดูน่าสนใจขึ้นมาแล้วใช่ไหมครับ
ด้วยระบบเทคโนโลยี Lan
ไร้สาย 802.11 จึงเกิดขึ้นมาบนโลกเบี๊ยวๆใบนี้
โดยการพัฒนาจากสถาบันวิศวกรไฟฟ้า และ อิเลคโทรนิค หรือ Institute of Electrical
and Electronics Engineering (IEEE) นั่นเอง
เลยทำให้กลายเป็นศัพท์ใหม่ที่เห็นกันบ่อยๆว่า IEEE 802.11 ซึ่งก็ได้มีการพัฒนากันมาเรื่อยจาก 802.11 ธรรมดามาเป็น
802.11b 802.11a 802.11g ซึ่งมันจะต่างกันเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลเป็นหลัก
( เดี๋ยวเราค่อยมาเล่าต่ออีกทีว่ามันต่างกันอย่างไร )
Wi-Fi
คืออะไร
Wi-Fi ก็คือองค์กรหนึ่ง ที่ทดสอบผลิตภัณฑ์ Wireless
Lan หรือระบบ Network แบบไร้สาย
ภายใต้เทคโนโลยีการสื่อสาร ภายใต้มาตราฐาน IEEE 802.11 ว่าอุปกรณ์ทุกตัวซึ่งต่างยี่ห้อกันนั้นมันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่มีปัญหา
หากว่าอุปกรณ์ตัวนั้นมันผ่านตามมาตราฐานเขาก็จะปั๊ม ตรา WIFI certified ซึ่งเป็นอันรู้กันว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่มีตรา
WIFI certified นี้ได้เช่นกัน
แต่ทำไปทำมามันกลายเป็นคำศัพท์สำหรับ อุปกรณ์ Lan ไร้สาย
ไปโดยปริยาย จนบางคนก็เรียกกันติดปาก เช่น Notebook ตัวนี้
หรือ PDA ตัวนี้มันมี WiFi ด้วยหละ!
นั่นก็หมายความว่า อุปกรณ์ชิ้นนั้นมันสามารถติดต่อสื่อสารกับเครื่องตัวอื่นในระบบ Network
แบบไร้สายได้ โดยอยู่ภายใต้มาตราฐานเทคโนโลยี 802.11แล้วเลข 802.11 มันคืออะไร
ซึ่งผมเชื่อว่ามันต้องเป็นคำถามต่อมาอย่างแน่นอน สำหรับเลข 802.11 นั้นก็เป็น เทคโนโลยีมาตราฐานแบบเปิดซึ่งกำหนดโดย Institute of
Electrical and Electronics Engineering (IEEE) โดยเลขหลักตัวหน้ามันจะเหมือนๆกัน
แต่ความแตกต่างของเทคโนโลยีจะกำหนด
ประโยชน์เครือข่ายไร้สาย
การเจริญเติบโตของเครือข่ายไร้สายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนับ
ตั้งแต่มีมาตราฐาน 802.11 เกิดขึ้น
ระบบเครือข่ายไร้สายได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันนี้เครือข่ายไร้สายสามารถใช้งานได้สะดวก และมีความปลอดภัยมากขึ้น
และที่สำคัญความเร็วในการสื่อสารสูงถึง 54 Mbps
ประโยชน์เครือข่ายไร้สาย
• มหาวิทยาลัยสามารถใช้เครือข่ายไร้สายโดยนักศึกษาสามารถเข้าถึงบทเรียน
Online ต่างๆ ได้
สามารถสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจากจุดใดจุดหนึ่งของสถาบันได้
และนักศึกษาไม่จำเป็นต้องรอเข้าใช้ห้องบริการคอมพิวเตอร์ของสถาบัน สามารถใช้จากจุดใดก็ได้ที่สัญญาณเครือข่ายไร้สายไปถึง
ช่วยให้นักศึกษาสามารถใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
• ผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายลดค่าใช้จ่ายในการเดินสายสัญญาณให้เข้าถึงจุด
บริการต่างๆ มากขึ้น
และสามารถให้บริการในจุดบริการที่สายสัญญาณไม่สามารถเข้าถึงได้เช่นกัน
• ผู้บริหารจัดการระบบเครือข่าย
สามารถเผ้าตรวจสอบระบบ
และปรับเปลี่ยนแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับระบบเครือข่ายจากจุดก็ได้
ทำให้สะดวกและรวดเร็วต่อการจัดการมากขึ้น
• ด้านธุรกิจผู้ดูแลสต๊อกสินค้า
สามารถตรวจสอบข้อมูลสินค้าต่างๆ ในสต๊อกกับฐานข้อมูลกลางจากที่ใดในโกดังได้ทุกที่ตลอดเวลา
• ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้ทุกสถานที่ตามที่ต้องการ
ทำให้ผลิดผลของงานเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ปัจจุบันความนิยมใช้งานเครือข่ายไร้สายเพิ่มขึ้น
เกิดจากการรองรับของอุปกรณ์ WLAN เพิ่มจำนวนขึ้น เช่น
โน้ตบุ๊ค (Notebook) และพีดีเอ (PDA) อย่างเช่นโน้ตบุ๊ครุ่มใหม่ที่ผลิดขึ้นจะสามารถใช้งานเครือข่ายไร้สายได้โดย
ไม่ต้องมีการ์แลนไร้สายช่วยแต่อย่างใด ที่รู้จักในชื่อ centrino ขณะที่พีดีเอต้องมีอุปกรณ์เสริมจึงจะสามารถใช้งานเครือข่ายไร้สายได้
และสามารถสังเกตุได้จากห้างสรรพสินค้า ร้านกาแฟ โรงแรม สนามบิน ที่ให้บริการ WLAN
เพิ่มขึ้นในหลายๆ ที่
แสดงให้เห็นถึงต้องการใช้เครือข่ายไร้สายเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
(สามารถตรวจสอบจุดบริการ Wireless ได้จาก จุดบริการ Wireless
ในกรุงเทพฯ และจุดบริการ Wireless ในต่างจังหวัด)
มาตราฐาน IEEE802.11
Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE)
เป็นสถาบันที่กำนหดมาตราฐานการทำงานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ได้กำหนดมาตราฐานสำหรับเครือข่ายไร้สายขึ้น คือมาตราฐาน IEEE802.11a, b, และ g ตามลำดับขึ้น
ซึ่งแต่ละมาตราฐานมีความเร็วและคลื่นความถี่สัญญาณที่แตกต่างกันในการสื่อ
สารข้อมูล มีรายละเอียดดังนี้
• มาตราฐาน IEEE802.11a
เป็นมาตราฐานระบบเครือข่ายไร้สายที่มีประสิทธิภาพสูง
ทำงานที่ย่านความถี่ 5 GHz มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่
54 Mbps ที่ความเร็วนี้สามารถทำการแพร่ภาพและข่าวสารที่ต้องการความละเอียดสูงได้
อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสามารถปรับระดับให้ช้าลงได้
เพื่อเพิ่มระยะทางการเชื่อมต่อให้มากขึ้น เช่น 54, 48, 36, 24 และ 11 เมกกะบิตเป็นต้น ในขณะที่คลื่นความถี่ 5
GHz นี้ยังไม่ได้ใช้งานอย่างแพร่หลาย
ดังนั้นปัญหาการรบกวนคลื่นความถี่จึงมีน้อย ต่างจากคลื่นความถี่ 2.4 GHz ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายทำให้สัญญาณของคลื่นความถี่ 2.4 GHz ถูกรบกวนจากอุปกรณ์ประเภทอื่นที่ใช้คลื่นความถี่เดียวกันได้
ระยะทางการเชื่อมต่อประมาณ 300 ฟิตจากจุดกระจายสัญญาณ Access
Point หากเทียบกับมาตราฐาน 802.11b แล้ว
ระยะทางจะได้น้อยกว่า 802.11b ที่คลื่นความถี่ต่ำกว่า
และทั้ง 2 มาตราฐานนี้ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้
ขณะที่ประเทศไทยไม่อนุญาติให้ใช้คลื่นความถี่ 5 GHz จึงไม่เห็นอุปกรณ์
WLAN มาตราฐาน 802.11a จำหน่ายในประเทศไทย
แต่ความเร็ว 54 Mbps สามารถใช้งานได้ที่มาตราฐาน 802.11b
ที่จะกล่าวถึงต่อไป
• มาตราฐาน IEEE802.11b
802.11b เป็นมาตราฐานที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งต่างประเทศและในประเทศไทย
เป็นมาตราฐาน WLAN ที่ทำงานที่คลื่นความถี่ 2.4 GHz (คลื่นความถี่นี้สามารถใช้งานในประเทศไทยได้)
มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 11 Mbps ปัจจุบันผลิตภัณฑ์อุปกรณ์เครือข่ายไร้สายภายใต้มาตราฐานนี้ถูกผลิตออกมาเป็น
จำนวนมาก และที่สำคัญแต่ละผลิดภัณฑ์มีความสามารถทำงานร่วมกันได้
อุปกรณ์ของผู้ผลิตทุกยี่ห้อต้องผ่านการตรวจสอบจากสถาบัน Wi-Fi Alliance เพื่อตรวจสอบมาตราฐานของอุปกรณ์และความเข้ากันได้ของแต่ละผู้ผลิต
ปัจจุบันนี้นิยมนำอุปกรณ์ WLAN ที่มาตราฐาน 802.11b ไปใช้ในองค์กรธุรกิจ สถาบันการศึกษา สถานที่สาธารณะ
และกำลังแพร่เข้าสู่สถานที่พักอาศัยมากขึ้น มาตราฐานนี้มีระบบเข้ารหัสข้อมูลแบบ WEP
ที่ 128 บิต
• มาตราฐาน IEEE802.11g
มาตราฐานนี้เป็นมาตราฐานใหม่ที่ความถี่ 2.4
GHz โดยสามารถรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 36 – 54 Mbps ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงกว่ามาตราฐาน 802.11b ซึ่ง 802.11g
สามารถปรับระดับความเร็วในการสื่อสารลงเหลือ 2 Mbps ได้ (ตามสภาพแวดล้อมของเครือข่ายที่ใช้งาน) มาตราฐานนี้เป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้เป็นจำนวนมากและกำลังจะเข้ามาแทนที่
802.11b ในอนาคตอันใกล้
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นนี้มีบางผลิตภัณฑ์ใช้เทคโนโลยีเฉพาะตัวเข้ามาเสริม
ทำให้ความเร็วเพิ่มขึ้นจาก 54 Mbps เป็น 108 Mbps แต่ต้องทำงานร่วมกันเฉพาะอุปกรณ์ที่ผลิตจากบริษัทเดียวกันเท่านั้น ซึ่งความสามารถนี้เกิดจากชิป
(Chip) กระจายสัญญาณของตัวอุปกรณ์ที่ผู้ผลิตบางรายสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่ง
สัญญาณเป็น 2 เท่าของการรับส่งสัญญาณได้
แต่ปัญหาของการกระจายสัญญาณนี้จะมีผลทำให้อุปกรณ์ไร้สายในมาตราฐาน 802.11b มีประสิทธิภาพลดลงด้วยเช่นกัน ด้านล่างเป็นตารางมาตราฐาน IEEE802.11
ของเครือข่ายไร้สาย
ตารางมาตราฐาน
802.11
มาตรฐาน
|
คลื่นความถี่
|
อัตราความเร็วของข้อมูล
|
802.11a
|
5.1
– 5.2 GHz
|
54
Mbps
|
802.11b
|
2.4
– 2.8 GHz
|
11
Mbps
|
802.11g
|
2.4
– 2.8 GHz
|
36
– 54 Mbps
|
รูปแบบเครือข่ายไร้สาย
การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายมี 2 รูปแบบ คือแบบ Ad-Hoc และ Infrastructure ทั้งสองรูปแบบมีการทำงานดังต่อไปนี้
1. การเชื่อมต่อแบบกลุ่มส่วนตัว(Ad-Hoc)
การเชื่อมต่อแบบ Ad-Hoc
เป็นการเชื่อมต่อที่ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปที่ติดตั้งการ์ดแลนไร้สาย (หรือ Centrino Notebook) ทำการเชื่อมต่อสื่อสารกันโดยตรงไม่ต้องผ่านอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access
Point) โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อแบบนี้สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลได้
เช่น แชร์ไฟล์ เครื่องพิมพ์หรืออุปกรณ์ต่างๆ การสนทนาแบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และเล่นเกมส์แบบวงแลนได้
ซึ่งช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยไม่ต้องมีสายสัญญาณ
แต่การเชื่อมต่อแบบ Ad-Hoc จะไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับเครือข่ายมีสายสัญญาณได้
นอกจากจะทำการติดตั้งอุปกรณ์ Acces Point เพื่อให้ Access
Point ทำการเชื่อมต่อและส่งข้อมูลไปเครือข่ายมีสายแทน
2. การเชื่อต่อแบบกลุ่มโครงสร้าง (Infrastructure)
การเชื่อมต่อแบบ Infrastructure
เป็นการเชื่อมต่อที่มีอุปกรณ์กระจายสัญญาญ (Access Point) เป็นตัวกลาง (ดังภาพด้านประกอบ) ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณและข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายของเครือข่ายไร้
สายไปสู่เครือข่ายมีสาย หากสังเกตุจะพบว่า Access Point มีการทำงานเหมือนอุปกรณ์ฮับ
(HUB) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบมีสาย
และที่สำคัญหากมีการเข้าใช้งานเครือข่ายไร้สายของเครื่องลูกข่ายในจำนวนมาก
ต่อหนึ่ง Access Point จะมีผลทำให้ความเร็วของการสื่อสารเครือข่ายไร้สายช้าลงด้วยเช่นกัน
ปัจจุบันเครือข่ายไร้สายแบบ Infrastructure
ได้รับความนิยมสูง
และเป็นเครือข่ายที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งทางด้านความเร็วในการสื่อ
สารและความปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนข้อมูล
เครือข่ายไร้สายช่วยให้เกิดความสะดวกมากขึ้นเพราะไม่ต้องเดินสายสัญญาณ
สำหรับเครื่องลูกข่าย สามารถปรับเปลี่ยน เคลื่อนย้าย
ขยายขนาดของเครือข่ายไร้สายได้ตลอดเวลา
ด้วยความสะดวกสบายของเครือข่ายไร้สายทำให้เครือข่ายไร้สายได้รับการยอมรับ
จากผู้ใช้มากขึ้นและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน
ประโยชน์ของเทคโนโลยี Wi-Fi
1. ลดค่าใช้จ่ายในการวางระบบเครือข่าย
ไม่ต้องมีการวางระบบเครือข่ายให้ยุ่งยาก ไม่ต้องเดินสาย
LAN ให้เกะกะ ไม่สวยงาม เพียงแค่หาจุดในการวางอุปกรณ์ Access Point ที่กระจายสัญญาณได้ชัดเจนก็พอ
ขยายระบบได้ง่ายและทำให้ปรับองค์กรได้อย่างเหมาะสม ตรงกับความต้องการ
2. Wi-Fi ทำให้การสื่อสารง่ายดาย
สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายและเปลี่ยนแปลง ไม่ต้องมีการเดินสาย
และสามารถโยกย้ายไปยังที่ต่างๆได้โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ เพียงแต่อยู่ในบริเวณที่ได้รับสัญญาณ Wi-Fi
ทำให้เกิดการทำงานที่สะดวกมากยิ่งขึ้น และในปัจจุบันอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้มีขนาดเล็ก
ประสิทธิภาพสูง สามารถพกติดตัวได้สะดวก พร้อมทั้งการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด
ผู้ใช้ไม่จำเป็นที่จะต้องนั่งใช้งานอยู่กับที่ทำงาน
3. ใช้มาตรฐาน IEEE 802 ทำให้เป็นที่ยอมรับทั่วไป และอุปกรณ์ต่างๆ
ราคาถูก หาซื่อได้ง่าย
4. ช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อทางธุรกิจ
การซื้อขายของออนไลน์ และการทำธุรกรรมทางธนาคาร
5. ช่วยเสริมสร้างรายได้ เป็นแรงจูงใจ ดึงดูดลูกค้า
และตอบสนองความต้องการของลูกค้า เช่น การให้บริการ Wi-Fi ตามร้านอาหาร ร้านกาแฟ โรงแรม ซึ่งจะทำให้ลูกค้าอยากเข้ามาใช้บริการมากขึ้น
วิธีการรักษาความปลอดภัยในการใช้ Wi-Fi
1. การปกปิดและกำหนดรหัสเฉพาะเพื่อใช้เรียกชื่อเครือข่าย
2. เปลี่ยน Login
ID และรหัสผ่านของอุปกรณ์และหลีกเลี่ยงการใช้ SNMP
3. การควบคุม MAC
Address ของผู้ใช้
4. ควบคุมการแพร่กระจายของสัญญาณ
5. ปิดการเชื่อมต่อกับเครือข่าย
WLAN แบบอัตโนมัติ
ข้อดีและข้อเสียของระบบเครือข่ายไร้สาย
ข้อดี
1. ช่วยลดปัญหาในการติดตั้งระบบเครือข่าย
2. ช่วยลดปัญหาในการวางสายระบบเครือข่าย
3. ไม่ต้องใช้สาย cable
4. ช่วยให้เกิดความเป็นระเบียบ เรียบร้อย
2. ช่วยลดปัญหาในการวางสายระบบเครือข่าย
3. ไม่ต้องใช้สาย cable
4. ช่วยให้เกิดความเป็นระเบียบ เรียบร้อย
ข้อเสีย
1. มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง
นั่นหมายความว่า “ ส่งสัญญาณได้ระยะสั้น ”
2. มีสัญญาณรบกวนสูง
3. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
4. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้ มีปัญหา ในการ ใช้งาน ร่วมกัน
5. ราคาแพงกว่าระบบเครือข่ายแบบมีสาย
6. มีความเร็วไม่สูงมากนัก
2. มีสัญญาณรบกวนสูง
3. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
4. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้ มีปัญหา ในการ ใช้งาน ร่วมกัน
5. ราคาแพงกว่าระบบเครือข่ายแบบมีสาย
6. มีความเร็วไม่สูงมากนัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น